- Admin
- 11 ตุลาคม 2566
สาเหตุอาการ ไฟดับ ที่หลายบ้านมักเกิดปัญหา เกิดจากอะไรกันนะ? พร้อมแชร์วิธีการรับมือเบื้องต้น
อยู่ๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ซึ่งสาเหตุมาจากอาการไฟดับนั้นเอง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่หลายๆบ้านคงไม่อยากพบเจอ เพราะการใช้ชีวิตประจำวัน แทบจะขาดไฟฟ้าได้ยาก หากไฟฟ้าดับในเวลากลางวันก็อาจจะมีผลกระทบน้อย ถ้าหากดับในเวลากลางคืนบางบ้านอาจจะนอนไม่หลับกันเลยทีเดียว วันนี้นายช่าง .net จะมาแชร์สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟดับกัน พร้อมวิธีการรับมือเบื้องต้นด้วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าดับ
- ไฟฟ้าลัดวงจร
สาเหตุแรกที่มักจะพบได้บ่อยคือ การเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในบ้าน ซึ่งจะทำให้ฟิวส์ขาด หรือสะพานไฟทิปลง ทำให้การจ่ายไฟในบ้านหยุดลง หากไฟฟ้าเกิดจากสาเหตุนี้ต้องรีบหาจุดที่ไฟฟ้าลัดวงจรโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคน และทรัพย์สินภายในบ้าน บางกรณีอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกได้ เช่น สัตว์บางชนิดปีน หรือบินไปเกาะเสาไฟ เมื่อสัมผัสกับสายไฟฟ้า ก็มีโอกาสที่ทำให้เกิดไฟช็อต ไฟลัดวงจร ทำให้ไฟดับได้เช่นกัน
- เกิดจากภัยธรรมชาติ
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในช่วงเวลาฝนตกหนัก ซึ่งภัยธรรมชาติเหลานี้ทำให้ฟิวส์ หรืออุปกรณ์ป้องกันเกิดการทำงานทำให้ไฟตกในระยะเวลาสั้นๆ หรืออาจจะดับไปเลยก็ได้เช่นกัน
- เกิดจากอุบัติเหตุ
เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากความประมาทของบุคคล เช่น การชนเสาไฟฟ้าจนเสาไฟฟ้าเสียหาย ทำให้สายไฟขาด การตัดต้นไม้ที่อยู่ตามแนวเสาไฟฟ้า ถ้าหากไฟฟ้าดับด้วยสาเหตุนี้ก็จำเป็นที่จะต้องแจ้งให้การไฟฟ้าทำการแก้ไข
- เกิดจากการตัดกระแสไฟฟ้า
ในบางครั้งทางการไฟฟ้ามีการตัดไฟฟ้าด้วยตัวเอง ซึ่งอาจเกิดการซ่อมแซม แก้ไขสายไฟ ซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ ชำรุด หรือบำรุงรักษา โดยการไฟฟ้าจะมีการแจ้งบนเว็บไซต์อยู่ตลอดอย่างน้อย 3 วัน
วิธีการรับมือเบื้องต้นเมื่อไฟดับ
1. ค้นหาสาเหตุของไฟดับ
สิ่งแรกที่ควรทราบเมื่อไฟดับคือ หาสาเหตุว่าเกิดจากเหตุใดตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ภายในบ้านของตัวเอง แต่หากเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง เช่น ดับทั้งหมู่บ้าน ปัญหาเหล่านี้จะไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเอง จะต้องแจ้งให้กับการไฟฟ้า เพื่อหาสาเหตุและรอการแก้ไข
2. เตรียมอุปกรณ์จำเป็นในระหว่างไฟดับ
อุปกรณ์จำเป็นในระหว่างไฟดับ เช่น ไฟฉาย เทียน ไฟแช็ค หลอดไฟ LED ชุดปฐมพยาบาล ควรเตรียมไว้ให้พร้อม และวางไว้ในจุดที่สามารถหยิบจับได้ง่าย โดยเฉพาะการเกิดไฟดับในเวลากลางคืน ควรมีอุปกรณ์ส่องสว่าง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และการตั้งเทียนก็ควรอยู่ห่างจากเชื้อไฟด้วย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
3. มีอุปกรณ์สำรองไฟ
อุปกรณ์สำรองไฟเป็นอีกอุปกรณ์ที่มีความจำเป็น หากเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อาจจะติดตั้งเฉาพจุดที่มีความสำคัญ เช่น เครื่องช่วยหายใจ ที่สามารถทำงานได้ในระหว่างที่ไฟดับ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานต่างเช่น คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะได้เซฟงาน และทำการปิดเครื่องก่อนที่พลังงานจะหมด ลดโอกาสที่คอมพิวเตอร์จะเสียหาย
4. ทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดอยู่ทั้งหมด
หลังจากที่ไฟดับ ควรรีบปิดสวิทช์การใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้ากลับมา อาจจะทำให้เกิดการไฟกระชาก ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ต้องการความเสถียรของไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เช่น เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ และช่วยป้องกันการลืมปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้ไม่เสียการใช้ไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
5. ลดการเปิดประตูตู้เย็น
โดยปกติแล้วเราจะแช่ของสดไว้ภายในตู้เย็น ซึ่งของสดเหล่านี้จะเน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นในระหว่างที่ไฟดับ ก็ไม่ควรจะเปิดตู้เย็นบ่อย เพราะภายในตู้เย็นยังมีความเย็นเหลืออยู่ ยิ่งหากไฟฟ้าดับเป็นเวลานานมากๆ ก็ไม่ควรเปิดตู้เย็น เพื่อป้องกันการเน่าเสียของของสด
6. ออกไปเที่ยวข้างนอก
หากไฟฟ้าดับเกิดจากการที่การไฟฟ้าแจ้งตัดไฟ เพื่อทำการแก้ไขระบบไฟฟ้า การเลือกเดินทางไปเที่ยวที่อื่น ถือเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะการไฟฟ้ามักจะตัดไฟในเวลากลางวัน หากอยู่ภายในบ้านพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่สามารถใช้งานได้ อาจจะอยู่บ้านแบบไม่สบายตัว ดังนั้นการเดินทางไปเที่ยวที่อื่นนอกจากจุดที่มีการตัดไฟ จึงเป็นการใช้เวลาพักผ่อน รอการแก้ไขไฟฟ้าเสร็จสิ้น